|
|
|
|
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)
(๒๔๓๐ ๒๕๒๖)
วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
ดุลย์ ดีมาก |
|
|
เกิด |
|
วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๐ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ |
|
|
บิดามารดา |
|
นายแดง และนางเงิน ดีมาก |
|
|
พี่น้อง |
|
รวม ๕ คน ท่านเป็นคนที่ ๒ |
|
อุปสมบท |
|
พ.ศ. ๒๔๕๒ (มหานิกาย) อายุ ๒๒ ปี ณ วัดชุมพลสุทธาวาส เมืองสุรินทร์ โดยมี |
|
|
|
พระครูวิมลสีลพรต(ทอง)เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบึกเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูฤทธิ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๑ อายุ ๓๑ ปี ญัตติเป็นพระธรรมยุต ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ฯจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
|
|
|
|
|
เมื่อแรกบวช ก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานกับหลวงปู่แอกวัดคอโค ซึ่งอยู่ชานเมืองสุรินทร์ ท่านก็พากเพียรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จนครบไตรมาสโดยไม่ลดละแต่ก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย นอกจากนี้ก็ใช้เวลาที่เหลือท่องบ่นเจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ไม่ได้ศึกษาพระวินัยเลย
ท่านไป จังหวัดอุบลฯ พยายามมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างเต็มสติกำลัง จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ คือ สามารถสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรี นวกภูมิ เป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และยังได้เรียนบาลีไวยกรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้
ที่ในพรรษานั้นเองหลวงปู่มั่น ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ท่านกับอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พากันไปฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นกันเป็นประจำ ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจคำพูดแต่ละคำมีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกทีฯครั้นออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์จึงตัดสินใจออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นไป
ท่านปฏิบัติตามปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของท่านปรมาจารย์อย่างสุดขีด จนแสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่จิตของท่านรู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้จนรู้กิเลสส่วนไหนละได้แล้วส่วนไหนยังละไม่ได้ดังนี้
ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย สงบ อยู่เป็นนิตย์ มีวรรณผ่องใส ท่านรักความสงบจิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก ท่านประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามของชาวพุทธตลอดเวลา เป็นเนื้อนาบุญของโลก ท่านเป็นพุทธสาวกอย่างแท้จริงได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์แม้ว่าท่านได้สละทิ้งร่างกายไปแล้ว แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลาย ยังเหลืออยู่ คุณธรรมดังกล่าวยังคงประทับอยู่ในจิตใจของทุกๆ คนไม่ลืมเลือน
|
|
|
มรณภาพ |
|
๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๖ สิริอายุ ๙๖ ปี ๖๔ พรรษา |
|
ข้อมูลพิเศษ |
|
* ท่านชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกขมูเลวา สุญฺญาคาเรวา ภิกฺขโว ... " มาก |
|
|
* ท่านกับหลวงปู่สิงห์เป็น ๒ องค์แรกที่ขอฟังธรรมกับหลวงปู่มั่น |
ธรรมโอวาท |
... |
|
|
|
...ไฟมันทำตามหน้าที่ของมัน ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น หมายความว่า ความอันตรธาน ความวิบัติ ความเสื่อมสลาย ความพลัดพรากจากกันนั้น สิ่งเหล่านี้มีประจำโลกอยู่แล้ว ทีนี้ผู้มีธรรมะ เมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้วจะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก ไม่ใช่ธรรมะช่วยไม่ให้แก่ไม่ให้ตาย ไม่ให้หิว ไม่ให้ไฟไหม้ ไม่ใช่อย่างนั้น...
...หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว
๑.จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้นเป็นสมุทัย
๒.ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหวเป็นทุกข์
๓.จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค
๔.ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|